
ตะโพน เครื่องดนตรีไทยประกอบจังหวะเครื่องหนึ่ง หรือที่ทางภาษาดนตรีไทยเรียกว่า “เครื่องตี” ความสัมพันธ์ของตระกูลกับดนตรีไทยนั้นมีมากมาย ใช้ร่วมบรรเลงกับวงดนตรีไทยต่าง ๆ รวมถึงในพิธีสำคัญมากมายอีกด้วย นอกจากนี้เครื่องดนตรีชนิดนี้ยังถือว่าเป็นเครื่องดนตรีบรมครูทางดุริยางคศิลป์ไทย เรียกได้ว่าค่อนข้างมีความสำคัญต่อดนตรีไทยมากเลยทีเดียว วันนี้จะพามารู้จักกับตะโพนให้มากขึ้นกว่าเดิม
หน้าทับอันเป็นเอกลักษณ์
เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องประกอบจังหวะ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่มีตรงกลางป่องออก ลักษณะเหมือนไข่ตัดหัวท้ายทิ้ง ตัวตะโพนที่เรียกว่า “หุ่น” ทำจากไม้ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไม้สัก ไม้ขนุน ไม้กุ่ม และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีน้ำหนักเบา มีความยาวอยู่ที่ประมาณ 19 นิ้ว ในส่วนตรงกลางที่ป๋องออกนั้นเราจะเรียกว่า “กระพุ้ง” จะขึ้นหน้าทั้งสองด้วยหนังวัวหรือหนังเสือ ทั้ง 2 น่าจะมีความกว้างไม่เท่ากัน โดยหน้าที่ใหญ่กว่าจะเรียกว่า “หน้าเท่ง” หรือ “หน้ารุ่ย” จะมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 9.5 นิ้ว หน้าที่เล็กกว่าจะเรียกว่า “หน้ามัด” มีความกว้างประมาณ 8.5 นิ้ว ตรงกลางของหน้ากลองทั้งสองหน้าจะทา “รัก” เป็นวงกลมไว้ ซึ่งทำมาจากข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้า การใช้เครื่องสูบผสมกับขี้เถ้าในการทำรักนี้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะสิ่งนี้เองทำให้เสียงของเครื่องดนตรีชนิดนี้ออกมามีคุณภาพ เพื่อเป็นการถ่วงหน้าเครื่องดนตรีให้เสียงต่ำลง และเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการด้วย วิธีติดข้าวสุกผสมขี้เถ้าลงบนหนังของเครื่องดนตรีชนิดนี้ก็เป็นสิ่งที่ละเอียดละอ่อนและต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก บริเวณตรงกลางของตัวเครื่องจะมีการพันหนังไว้ เรียกว่า “รัดอก” โดยข้างบนจะทำเป็นหูหิ้ว จะมีแท่น หรือเท้ารองรับไว้ตั้งตัวเครื่องดนตรี โดยจะให้ “หน้ารุ่ย” (หน้าที่มีขนาดใหญ่) อยู่ทางด้านขวามือของตัวผู้เล่น และให้ “หน้ามัด” (หน้าที่มีขนาดเล็ก) อยู่ทางด้านซ้ายมือของตัวผู้เล่น
เครื่องดนตรีชนิดนี้จะบรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ และทำหน้าที่กำกับจังหวะที่เรียกว่า “หน้าทับ” ทำหน้าที่นำกลองทัด การนำกลองทัดนี้เองเรียกว่า “ท้าว” ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงโขนละครต่าง ๆ นอกจากนี้เครื่องดนตรีชนิดนี้ยังใช้ในการบรรเลงประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ เครื่องดนตรีชนิดนี้ยังถือเป็นบรมครูทางด้านดุริยางคศิลป์ไทย ก่อนที่จะเริ่มบรรเลง จำเป็นที่จะต้องไหว้ครู และนำดอกไม้ธูปเทียนมาเคารพสักการะเครื่องดนตรีชนิดนี้ก่อนทุกครั้ง สิ่งนี้ถือเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาช้านาน เหตุผลเพราะเครื่องดนตรีชนิดนี้จะบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีหลายต่อหลายเครื่อง สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเครื่องดนตรีเหล่านี้เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวของเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ดังนั้นเครื่องดนตรีชนิดนี้จึงถือเป็นบรมครูทางดนตรีด้วย
ตะโพน เครื่องดนตรีที่ควรสืบสาน
ทั้งกระบวนการทำ และการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ล้วนต้องอาศัยความพิถีพิถันและความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก นี่เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ได้ ว่าดนตรีไทยนอกจากเสียงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ท่วงทำนองที่ฟังแล้วรู้ได้ทันทีว่าเป็นของไทย สิ่งที่เหนือกว่าและทำให้ดนตรีไทยยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน คือความละเอียดของข้างในกระบวนการทำเหล่านั้น ทั้งเรื่องของการเล่นดนตรีไทย รวมไปถึงการทำเครื่องดนตรีออกมาอีกด้วย ดังนั้นสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็น และได้ฟังดนตรีในแบบของไทยเรา เครื่องดนตรีที่สำคัญและเป็นบรมครูเครื่องหนึ่งของเรา ตะโพน
เครดิตภาพ
http://tkapp.tkpark.or.th/stocks/content/developer1/thaimusic/91_taponethai/web/big1.html
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%99
เครื่องดนตรี อื่นๆ ที่น่าสนใจ