
“แคน เครื่องดนตรีที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานมาช้านาน ด้วยเสน่ห์ของเสียงดนตรีชนิดนี้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวยากจะเลียนแบบให้เหมือนได้ เป็นเครื่องเสียงประเภทเป่า ที่เมื่อได้บรรเลงเล่นเพลงจากเครื่องดนตรีชนิดนี้เมื่อไหร่ ก็อดที่จะชวนให้ต้องลุกขึ้นมาเซิ้งมาฟ้อนกันทุกรอบไป โดยประวัติการสร้างเครื่องดนตรีชนิดนี้ มีเรื่องราวที่แฝงไปด้วยอารยธรรมการย้ายถิ่นฐาน และการตั้งรกรากของชาวอีสานมาอย่างยาวนาน และอย่างที่เราคุ้นชินกันดี ถึงการละเล่นที่เน้นไปในด้านการสร้างสีสันในดนตรี มีจังหวะครื้นเครง ควบคู่ไปกับการฟ้อน การเซิ้ง และการขับเพลงอย่างเช่น เพลงหมอลำ เพลงแอ่ว เป็นต้น “
ประวัติความเป็นมาของ แคน
ประวัติความเป็นมา ของเครื่องเป่าจากภาคอีสาน ที่ถือได้ว่าเป็นดนตรีไทยยุคโบราณที่เก่าแก่ มีการพัฒนาลักษณะและรูปร่างของเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคียงคู่กับขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาวบ้านไทย-ลาว ตั้งแต่ยุค 3000 ปี มาแล้ว โดยประวัติความเป็นมาของการริเริ่มประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดนี้นั้นไม่สามารถระบุบุคคลได้อย่างชัดเจน มีเพียงหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการพบเจอซากวัตถุที่คาดว่านี่ คือเครื่องดนตรี แคนซึ่งมีลักษณะเป็นหิน มีอายุราว 3000ปี และสถานที่ที่การขุดพบเจอซากกว่านี้ นั่นคือ บริเวณริมแม่น้ำชองมา ประเทศเวียดนาม ซึ่งจากการสันนิษฐานของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศษได้ระบุว่า บริเวณนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาวไทย -ลาว ก่อนการอพยพและรวมตัวเป็นกลุ่มชาวอีสาน ที่มีที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน
บทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย
ในหลักฐานทางด้านประวัติศาตร์ ที่สื่อให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงบทบาทที่สำคัญของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นยุคที่เกิดการรวมตัว และการอพยพแบ่งแยกของกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติ รวมทั้งศิลปะดนตรีแขนงต่างๆ ที่ได้เกิดการแลกเปลี่ยนกันในช่วงนี้ ช่วงของยุคสมัยการปกครองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยประวัติศาสตร์มีการจารึกถึงการบันทึกของราชทูต จากประเทศอังกฤษ ผู้เข้ามาเจรจาสัมพันธไมตรีทางการค้าระหว่างอังกฤษกับไทย โดยราชฑูตผู้นั้น มีชื่อว่า “เซอร์จอห์น เบาริ่ง” ได้กล่าวชื่นชมถึงความไพเราะของเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่พระปิ่นเกล้า(พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า) ได้ทรงเป่าเล่น ขับบรรเลงเพลงแอ่วลาว หมอลำ ให้ตนได้ฟัง จากในบันทึกยังระบุอีกว่า เซอร์จอห์น เบาริ่ง” ได้เล่าถึง พระปิ่นเกล้าที่ได้ทรงพระราชทานเครื่องดนตรีที่พระองค์ทรงโปรดปราน ให้เป็นของขวัญแก่ตน จากบทความนี้เป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความนิยมที่แพร่หลายของเครื่องดนตรีชนิดนี้ ด้วยเหตุจากความไพเราะในเสียงที่สร้างมนต์สะกดให้ผู้คนในกรุงรัตนโกสินทร์ เสียงเป่าที่ให้อารมณ์เพลิดเพลิน และครึกครื้นไปกับจังหวะการบรรเลงและลีลาการ ฟ้อนรำ ที่เป็นอย่างที่ชื่นชอบของผู้คนในยุคนั้นจนมาถึงปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ของดนตรี วัฒนธรรมความเชื่อ และประเพณีของชาวไทยอีสาน
การสืบสานการละเล่นของชาวอีสานพื้นบ้าน ที่มีเครื่องดนตรีคอยขับร้อง ฟ้อนลำนำ ลำตัด หมอลำ ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวอีสาน นอกจากนั้น เครื่องดนตรีแห่งแดนอีสานชนิดนี้ ยังมีบทบาทที่จะขาดไม่ได้เลย ในพิธีงานมงคลต่างๆ ทั้งงานเล็กและงานใหญ่ ทั้งงานบุญ งานบวช งานมงคลต่างๆ ทั้งแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบายสี งานแก้บนและอีกมากมายที่จะขาดเสียง เพลงอันครึกครื้นไปไม่ได้ และพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาที่มีการอัญเชิญ ภูติผี ผีบ้านผีเหย้า หรือแม้กระทั่งการบูชาปอบฟ้าตามความเชื่อของชาวอีสานที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมาแล้ว
ประเภทของ แคน มีกี่แบบและราคาเท่าไหร่ ?
แคน มีลักษณะหลายประเภท ที่สามารถเลือกซื้อได้จากการความถนัดและระดับการเล่นว่าอยู่ในขั้นใด มาเป็นหลักในการเลือก ผู้ที่เพิ่งหัดเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้อาจต้องใช้ความอดทนในการฝึก เพราะการเป่าค่อนข้างยากในด้านทักษะการใช้ลมหายใจ การใช้นิ้วกดรูตัวโน๊ต และการปรับจังหว่ะเข้า-ออกของลม ที่ต้องทำพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ช่วงมือใหม่หัดเล่นจึงต้องเลือกหาประเภทของเครื่องดนตรีที่ตรงกับรูปแบบการเล่นของตนด้วย
1) เครื่องดนตรีลูกหก มีจำนวน ลักษณ์ของเครื่องดนตรีประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่เริ่มหัดเล่นเป็นอย่างมาก ราคาเริ่มต้นที่ 790-1,500 บาท
2) เครื่องดนตรีลูกเจ็ด มีขนาดที่พอดีจับถนัดเป็นประเภทที่เหมาะกับผู้เล่นทั่วไปที่สามารถเป่าได้ครบตามหลักโน๊ตสากลทุกตัวราคาเริ่มต้นที่ 1,600-2,500 บาท

3) เครื่องดนตรีลูกแปด เป็นเครื่องเป่าประเภทแบบดั้งเดิม ที่ใช้กันทั่วไป ในการเป่าสำหรับออกเล่นตามงานจริง ซึ่งเสียงของ เครื่องดนตรีลูก8 จะมีความไพเราะมากกว่าแบบอื่นๆ มีลักษณะเสียงที่ประสานกันทั้งเสียง เข้มและเสียงใส กังวาล ราคาเริ่มต้นที่ 1,800-4,500บาท

สรุป
เครื่องดนตรีไทยอย่างแคน ที่ถือได้ว่านอกจากจะเป็นเครื่องดนตรีที่มีคุณค่า ทั้งทางด้านวัฒนธรรมการสืบสานขนบธรรมเนียมและอารยธรรม ให้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปแล้วนั้น ยังมีคุณค่าทางด้านจิตใจ ที่เพียงเสียงบรรเลงดนตรี จากการเป่าเป็นเพลงที่มีถ่วงจังหว่ะสรวลดังขึ้นเมื่อใด นั่นหมายถึงการเข้าสู่ความผ่อนคลาย คลายเคลียดได้ดีจากการร่วมสังสรรค์ และเสียงจังหวะปลุกใจ ให้ครึกครื้น และความสนุกสนานได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งนี่ก็คือเสน่ห์ของเสียงเพลง จากการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีแห่งถิ่นแดนอีสาน ที่ไพเราะเกินคำบรรยายจริงๆ
เครดิตภาพ
เครื่องดนตรี อื่นๆ ที่น่าสนใจ