
กรับ เครื่องดนตรีไทยที่หลายคนมักจะรู้จักในฐานะเครื่องกระทบ หรือหากเป็นในหลักเครื่องดนตรีไทยจะเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “เครื่องตี” เราจะได้ยินเครื่องดนตรีชนิดนี้ ทั้งในโคลงฉันท์กาพย์กลอนแบบไทย การเล่นรวมวงแบบไทย เราจะได้ยินกันในเพลงมโหรี เพลงโบราณต่าง ๆ เพลงเรือ โขนละคร รวมไปถึงการขับเสภา ซึ่งเครื่องดนตรีชนิดนี้มีเสียงที่มีเสน่ห์และเป็นเอกลักษณ์ ได้ฟังปุ๊บก็รู้เลยว่าเป็นดนตรีไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่เป็นเสน่ห์และชวนหลงใหล สมควรอย่างยิ่งที่จะสืบทอดและอนุรักษ์ต่อไป วันนี้จะพามารู้จักกับเครื่องดนตรีชิ้นนี้ให้มากขึ้น
เสน่ห์แบบไทย จากเรื่องพื้นฐานของมนุษย์
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความเรียบง่าย คาดว่าแต่เดิมแล้วเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกพัฒนามาจากการปรบมือของมนุษย์ ซึ่งเป็นการประกอบจังหวะที่ง่ายที่สุดและมีความพื้นฐานที่สุด แต่เสียงปรบมือเพียงอย่างเดียวนั้นเริ่มมีความซ้ำซากจำเจ มนุษย์เราจึงมองหาวัสดุใกล้เคียง เริ่มแรกนั้นเป็นเศษไม้ที่อยู่ใกล้ นำสิ่งนี้มาเคาะแทนการปรบมือทำให้เกิดมิติใหม่ และเสียงใหม่มากยิ่งขึ้น คาดว่าภายหลังได้มีการพัฒนาให้สิ่งนี้เป็นเครื่องดนตรีจริง ๆ จึงกลายมาเป็นเครื่องดนตรีชิ้นนี้อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน นอกจากไม้แล้ว เรายังได้พัฒนาเครื่องดนตรีชนิดนี้ เป็นวัสดุอย่างอื่น เช่น โลหะต่าง ๆ ทำให้เกิดเสียงใหม่ขึ้น โดยปกติแล้วหลักการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ จะเป็นการเล่นสลับกับฉิ่ง ซึ่งเป็นการสอดประสานทำนองที่ไพเราะและมีความเป็นไทยอย่างยิ่ง
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท “คู่” ซึ่งทำมาจากไม้ไผ่ซีก 2 อัน ทำการเหลาให้เรียบและรับคมเรียบร้อย ด้านหัวและด้านท้ายจะใหญ่ไม่เท่ากันเล็กน้อย ตีด้วยการจับสองมือ โดยการตีนั้นจะต้องตีบริเวณใกล้กับหัว ใช้ประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ชาตรี การแสดงละครชาตรี ประเภทที่ 2 เรียกว่า “พวง” มีลักษณะคล้ายกับด้ามพัด เป็นไม้ 2 ท่อน เรียกว่าไม้แก่นประกบกัน ช่วงตรงกลางทำด้วยไม้บาง หรือแผ่นทองเหลือง วัสดุต่างกันทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ปกติแล้วเครื่องดนตรีประเภทนี้จะใช้ในงานพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งจะใช้เครื่องดนตรีตีเป็นจังหวะ เพื่อบ่งบอกถึงสัญญาณ นอกจากนี้ยังใช้ในการขับร้องเพลงเรือ เพลงดอกสร้อย และใช้บรรเลงขับร้องในงานการแสดงต่าง ๆ ประเภทสุดท้ายเรียกว่า “เสภา” ทำด้วยไม้แก่น มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม แต่ทำการลบเหลี่ยมทิ้งจนเกือบมน เพื่อให้สามารถกลิ้งบนมือของผู้บรรเลงได้ ตรงตามชื่อ เครื่องดนตรีประเภทนี้จะใช้ในการบรรเลงขณะขับเสภา โดยจะใช้ 2 คู่ วางลงบนมือแต่ละข้าง และกระทบกันให้เข้าจังหวะ
กรับ ที่เราควรอนุรักษ์
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีเสน่ห์ และจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ ดนตรีไทยเป็นสิ่งที่สวยงาม และเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี การมีเครื่องดนตรีชนิดนี้ในเพลงบรรเลง หรือในละครไทยแบบต่าง ๆ นั้น เป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับเพลงหรือละครนั้นมากเลยทีเดียว อย่างการขับเสภา ที่ในยุคสมัยนี้ได้นำมาทำให้มีความร่วมสมัย และเข้ากับคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น เครื่องดนตรีที่เหมาะสมจะบรรเลงกับการขับเสภาแบบนี้ ก็ไม่น่ามีเครื่องอื่นได้แล้วนอกจากกรับ
เครดิตภาพ
http://xn--42cg3bekk9dce9g7dra8iwc9b.blogspot.com/2009/06/blog-post_7169.html
http://www.bngmusicthailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147589707&Ntype=5
https://web.facebook.com/ranaddee/posts/1070598906413359/?_rdc=1&_rdr
เครื่องดนตรี อื่นๆ ที่น่าสนใจ